คิดจะปูพื้น คำนวณให้ดี กระเบื้องยาง 1 กล่อง มีกี่แผ่น
ในการทำบ้าน เราจำเป็นต้องวางแผนและวางงบประมาณในส่วนต่าง ๆ ให้ดี เพื่อที่จะไม่เกิดประเด็นงบประมาณบานปลาย อย่างการปูพื้นเองก็ตาม ไม่ใช่แค่เพียงการคำนวณค่าใช้จ่ายในภาพรวมเท่านั้น แต่ต้องคำนวณลงลึกไปอีกว่า กระเบื้องยาง 1 กล่อง นั้นมีกี่แผ่น และตกแล้วในพื้นที่ที่เราจะปูกระเบื้องแล้วงบประมาณยังไหวหรือเปล่า เราจึงรวบรวมข้อมูลมาให้แล้วค่ะ
ข้อมูล กระเบื้องยาง 1 กล่อง มีกี่แผ่นกันนะ?
โดยทั่วไปกระเบื้องยางจะเริ่มต้นที่ขนาดต่ำกว่า 20*20 ซม. แต่ก็ยังมีขนาดอื่น ๆ อีกเพียบ ดังนี้
- ขนาด 20×20 : 1 กล่อง มี 25 แผ่น สามารถปูพื้นที่ได้ 1 ตารางเมตร เนื่องจากขนาดนี้ 1 แผ่น จะมีพื้นที่ 0.04 ตารางเมตร ทำให้ 25 แผ่น สามารถปูได้ 1 ตารางพอดี
- ขนาด 30×30 : 1 กล่อง มี 11 แผ่น สามารถปูพื้นที่ได้ 1 ตารางเมตร เนื่องจากขนาดนี้ 1 แผ่น จะมีพื้นที่ แผ่นละ 0.09 ตารางเมตร 11 แผ่น จึงรวมเป็น 0.99 ตารางเมตร เมื่อทำการปัดขึ้น 1 กล่องจึงเท่ากับ 1ตารางเมตร เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณและการซื้อขาย
- ขนาด 40×40 : 1 กล่อง มี 6 แผ่น สามารถปูพื้นได้ 1 ตารางเมตร จะมีพื้นที่แผ่นละ 0.16 ตารางเมตร 6แผ่น จึงรวมเป็น 0.96 ตารางเมตร แต่โดยทั่วไปร้านค้ามักจะปัดขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณ 1 กล่องจึงเท่ากับ 1 ตารางเมตร
- ● ขนาด 60×60 : 1 กล่อง มี 4 แผ่น สามารถปูพื้นได้ 1.44 ตารางเมตร จะมีพื้นที่แผ่นละ 0.36 ตารางเมตร
- ขนาด 60×120 : 1 กล่อง มี 2 แผ่น สามารถปูพื้นได้ 1.44 ตารางเมตร จะมีพื้นที่แผ่นละ 0.72 ตารางเมตร
*ทั้งนี้พื้นที่การปูพื้นได้อาจจะแตกต่างกันออกไป ตามความหนาของกระเบื้องยางนั้น ๆ
รู้หรือไม่ว่า ทำไมกระเบื้องแต่ละขนาดมีจำนวนแผ่นต่อกล่องไม่เท่ากัน?
ที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากกระเบื้องยางแต่ละขนาด สามารถนำไปปูพื้นที่ได้ต่างกันมาก ทำให้หลักในการตั้งจำนวนแผ่นของกระเบื้องต้องใช้พื้นที่เป็นตัวยึด นั่นคือ กระเบื้องยาง 1 กล่อง จะต้องปูได้พื้นที่ใกล้เคียง 1 ตารางเมตร
คำนวณกระเบื้องยางอย่างไรให้สั่งแล้วพอดี?
วิธีที่นิยมในการคำนวณปริมาณกระเบื้องที่จะสั่งมี 2 วิธีด้วยกัน ได้แก่
- นับจำนวนแผ่น
การนับจำนวนแผ่นเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดที่จะคำนวณแล้วค่ะ โดยเราจะต้องวัดพื้นที่หน้างานมา แล้วเอาด้านกว้างและยาวของกระเบื้องหารกับความยาวของพื้นที่ ซึ่งในที่นี้เราจะสามารถเห็นและวางแผนได้ด้วย ว่าจะเหลือเศษกระเบื้องมากน้อยขนาดไหน แผ่นที่ตัดแล้วจะสามารถนำไปใช้ต่อได้หรือไม่ หรือว่าเศษจะต้องทิ้งเลย
ข้อดี : เราจะรู้ปริมาณกระเบื้องที่ใช้จริงๆ และมุมไหนต้องตัดกระเบื้องในรูปแบบใดบ้างเพื่อให้เข้ากับพื้นที่ได้แม่นยำ
ข้อเสีย : ถ้าพื้นที่มีปริมาณมากๆจะเสียเวลาในการคำนวณมาก เราจึงนิยมใช้การประมาณโดยตารางเมตรเอามากกว่าหากเป็นพื้นที่
- การประมาณ โดยการใช้พื้นที่ตารางเมตร
วิธีนี้จะเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากใช้เวลาน้อยที่สุด โดยใช้วิธีการนำความกว้างxความยาว ของห้องก็จะได้หน่วยพื้นที่มาเป็นตารางเมตร แต่ข้อเสียของวิธีการนี้คือเราอาจจะต้องเผื่อเศษสักหน่อย เพราะเราไม่รู้ว่ากระเบื้องจะต้องเสียเศษมากน้อยขนาดไหน เพราะหากรูปแบบของห้องมีความซับซ้อนแล้วจะยิ่งต้องเสียเศษมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปก็จะสั่งเผื่อเศษกันประมาณ 2-5% ขึ้นอยู่กับความใหญ่ของโครงการ
ทั้งหมดนี้ก็เป็นวิธีการคำนวณจำนวนแผ่นของกระเบื้องยางต่อ 1 กล่อง ว่าเราควรจะซื้อให้มากน้อยแค่ไหน ถึงจะพอดีกับพื้นที่ที่เราต้องการปู เพื่อที่จะช่วยควบคุมงบประมาณ ไม่ให้บานปลายจากเดิมไปมาก ก็จะถือว่าเป็นการประหยัดเงินได้อีกเยอะเลยค่ะ
จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระเบื้องพื้น SPC,แผ่นปูกระเบื้องยาง LVT กระเบื้องยางคลิ๊กล็อค บัว-ตัวจบ ครบองค์ประกอบเรื่องพื้น สวยงามคุณภาพสูง มาพร้อมลวดลายสีสันให้เลือก มากมาย มีความทนทาน กันน้ำ-กันปลวก แถมยัง ปลอดภัยยับยั้งแบคทีเรีย คุณภาพคุ้มราคา สนใจติดต่อ
062-645-8855 (Hotline 1)
062-653-9444 (Hotline 2)
066-115-2362 (Hotline 3)
https://smartbuilts.com/
#กระเบื้องปูพื้น #คำนวณพื้นที่กระเบื้อง #กระเบื้องยาง